การฟ้องชู้ ต้องทำอย่างไร ??

การฟ้องชู้ จะต้องมีหลักฐานอะไรบ้าง? และหลักฐานทุกอย่างที่มี ควรฟ้องตอนไหน? หากเก็บไว้นาน หลักฐานเหล่านั้น จะยังมีประโยชน์ หรือไม่ และหลักฐาน ที่เป็นประโยชน์นั้น ควรเป็นแบบไหน? การแต่งงาน แบบไม่จดทะเบียน แต่สังคมรับรู้ จะฟ้องชู้ได้ไหม? ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากชู้ โดยไม่หย่า ได้หรือไม่?
-
การดำเนินคดีฟ้องชู้ จะต้องมีทะเบียนสมรส
การจะดำเนินคดี ฟ้องชายชู้ หรือหญิงชู้ได้ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพานิชย์ จะต้องเป็นสามี หรือภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสกัน โดยกฎหมาย
การฟ้องเรียกค่าสินไหม ทดแทน จากชายชู้ หรือหญิงชู้ เป็นคดีแพ่ง มีกฎหมายบัญญัติ รองรับไว้ กรณีที่ใครก็ตาม ที่เป็นชาย และหญิง ไปเป็นชู้กับสามี หรือภรรยาผู้อื่น ซึ่งสามี หรือภรรยา ที่จะเอาผิด กับชายชู้ หรือหญิงชู้ได้ จะต้องจดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จึงจะมีเหตุ ไปเรียกค่าสินไหมทดแทน จากชายชู้ หรือหญิงชู้ได้
การแต่งงาน แบบไม่จดทะเบียน แม้จะจัดงานใหญ่โต มีสังคมรับรู้มากมาย ก็ไม่สามารถ ที่จะฟ้องในมาตรานี้ได้ แต่สามารถ กับมาตราอื่นได้ เช่น การทำให้เสียชื่อเสียง เป็นต้น
คุณสามารถ ที่จะฟ้อง เรียกค่าทดแทน จากหญิงหรือชายอื่น ที่มาเป็นชู้ กับสามี หรือภรรยา ของคุณได้ โดยไม่จำเป็น ต้องฟ้องหย่ากับสามี หรือภรรยาก่อน
หรือจะฟ้องหย่า กับสามีหรือภรรยา โดยอ้างเหตุตามมาตรา 1516(1) และเรียกค่าทดแทน จากทั้งสามีหรือภรรยา และชายชู้หรือหญิงชู้ ได้ทั้งสองคน ตามมาตรา 1523 ได้เช่นกัน
-
การฟ้องชู้ ต้องมีหลักฐานสำคัญ ที่แสดงให้เห็น พฤติกรรมชู้สาว
หัวใจสำคัญของคดีชู้สาว คือ “พยานหลักฐาน” เพื่อใช้ ในการดำเนินคดี กับชู้ ซึ่งคุณต้องพยายาม รวบรวม พยานหลักฐาน ให้ได้มากที่สุด บางครั้ง อาจจะ ต้องใช้บริการ จ้างนักสืบชู้สาว มาทำงานให้ เพื่อให้ได้หลักฐาน ที่สมบูรณ์ เพียงพอ ที่จะนำไปใช้ ร้องเรียน กับผู้บังคับบัญชา ของอีกฝ่าย เพื่อที่จะให้รับรองบุตร หรือต้องการฟ้องหย่า หรือเรียกค่าสินไหมทดแทน
ต้องมีหลักฐานสำคัญ ที่แสดงให้เห็น ถึงการที่ชู้นั้น ออกสังคมกัน อย่างเปิดเผย มีหลักฐาน สื่อพฤติกรรม การทำชู้ เช่น รูปถ่าย คลิปวีดีโอ หรือ ภาพเคลื่อนไหว สื่อโซเชียลมีเดีย แชทข้อความ เป็นต้น การจะดำเนินการฟ้องชู้ การจ้างบริษัทนักสืบ เพื่อหาหลักฐาน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญ
หลักฐานที่ชัดเจนว่าเป็นชู้กัน คือ
- หลักฐานว่า มีความสัมพันธ์ชู้สาวกัน พาสามี หรือภรรยา ไปทำชู้ ตามสถานที่ต่างๆ พากันเข้าห้อง ในสถานที่ส่วนบุคคล เช่น โรงแรม หรือสอร์ท ฯลฯ หรือตามสถานที่สาธารณะต่างๆ เป็นต้น
โดยมีหลักฐานชัดเจน อาจเป็นรูปถ่าย หรือคลิป ภาพถ่าย ทางสื่อสังคมออนไลน์ ภาพแอบถ่าย โดยนักสืบชู้สาว หรือภาพกล้องวงจรปิด คลิปวีดีโอการมีเพศสัมพันธ์ คลิปชู้สาว หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่แสดงให้เห็นว่า สามีหรือภรรยา กับชู้อยู่ในบ้าน หรือคอนโดฯ หรืออพาร์ตเมนต์เดียวกัน มีการพักอาศัย และใช้ชีวิตร่วมกัน อย่างเปิดเผย
- ข้อความในแชทต่างๆ รวมถึงการโพสต์ในสื่อ โซเชียลมีเดีย ก็ถือว่าเป็นหลักฐานประกอบ อย่างหนึ่ง เพราะมีข้อความ สื่อชัดเจน สามารถนำมา ประกอบการดำเนินคดีได้ ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ ซึ่งสามารถแสดงให้เห็น ได้ว่า ทั้งสองคน มีการโทรหา และติดต่อกัน อยู่เป็นประจำ
- ข้อมูลของการถือครอง หรือซื้อทรัพย์สินให้แก่กัน ไม่ว่าจะเป็น บ้านหรือคอนโดฯ ทาวน์เฮาส์ ฯลฯ ที่เป็นที่พักอาศัย รถยนต์ส่วนบุคคล หรือหุ้น ชื่อนั้นเป็นของชู้ หรือของคู่รักของท่าน และใครเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ ในอสังหาริมทรัพย์
เพราะเมื่อสืบว่า ชู้พักที่ใด ก็จะสามารถ ทราบว่า ที่พักอาศัยนั้น เป็นของใคร และใครเป็นเจ้าของ ส่วนนี้ อาจจะต้อง จ้างนักสืบ ในการหาข้อมูล
- รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี ซึ่งแสดงให้เห็น ว่ามีการโอนเงิน ให้กันใช้ หรืออุปการะ เลี้ยงดูกัน ซึ่งหลักฐานนี้ อาจจะต้อง ใช้บริการนักสืบชู้สาว สืบหาข้อมูล ด้านการเงินของสามี หรือภรรยา
- สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของเด็ก ในกรณีที่คู้รักของท่านแอบได้เสียกับชู้จนถึงขั้นมีบุตรด้วยกัน
อีกหนึ่งสิ่ง ที่สำคัญ ไม่แพ้หลักฐาน ที่กล่าวข้างต้นเลย คือ ชื่อ และนามสกุล ของชายชู้ หรือหญิงชู้ เพราะถ้าไม่รู้ชื่อ – นามสกุลอีกฝ่าย ก็ฟ้องไม่ได้ ต่อให้มีหลักฐาน ที่ชัดเจนมากก็ตาม
-
หลักฐานมีอายุความ 1 ปี นับตั้งแต่ที่ทราบ
อายุความ 1 ปี นับตั้งแต่ มีหลักฐาน รู้ชัดว่าสามี หรือภรรยา มีชู้ ต้องฟ้องภายใน 1 ปี
อายุความของคดี ที่จะฟ้อง เรียกค่าสินไหมทดแทน จากชายชู้ หรือหญิงชู้ คือ 1 ปี เช่นเดียวกับ การฟ้องหย่า กรณีมีชู้ด้วย กล่าวคือ ถ้ารู้แล้วว่าสามี หรือภรรยาตัวเองอไปมีชู้ ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่ที่รู้ หรือมีหลักฐาน
ถ้าปล่อยเกิน 1 ปี จะถือว่า ไม่ติดใจ ในการที่จะดำเนินคดี หากเป็นการจ้างนักสืบ หาหลักฐาน หลักฐานทุกอย่าง จะมีเวลา วัน/เดือน/ปี ที่บันทึกภาพ หรือคลิป ดังนั้น จึงควรไตร่ตรองให้ดี
ซึ่งปัจจุบัน คดีชู้สาว ลักษณะนี้ ใช้เวลาไม่นาน ใช้เวลาไม่เกิน 3-5 เดือน ตั้งแต่ขั้นตอนการฟ้อง ให้จำเลยยื่นคำให้การ เข้าสู่กระบวน การไกล่เกลี่ย หากตกลงไม่ได้ ก็เข้าสู่กระบวน การพิจารณา
ใส่ความเห็น